Sunday, June 21, 2009

วัตถุประสงค์การเรียนรู้วิชาภาษาไทยของนักเรียนระดับ MYP

AIMS:

The aims of the teaching and study of MYP Thai A are to encourage and enable students to:

· use the language as a vehicle for thought, creativity, learning and self-expression and social interaction

· develop the skills involved in listening, speaking, reading, writing, viewing and presenting in a variety of contexts

· develop critical, creative and personal approaches to studying and analysing literary and non-literary works

· engage in literature from a variety of cultures and representing different historical periods

· explore and analyse aspects of personal, host and other cultures through literary and non-literary works

· engage with information and communication technology in order to explore language

· develop a lifelong interest in reading widely

· apply Thai skills and knowledge in a variety of real-life contexts.

Friday, October 17, 2008

นิทานทองอิน

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ เรื่อง นิทานทองอิน
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
๑. สามารถสรุปใจความสำคัญและวิเคราะห์เรื่องนักสืบทองอินได้
๒. สามารถบอกเขียนย่อความได้ถูกต้อง
๓. สามารถพูดแสดงความรู้ ความคิดเห็นได้
๔. สามารถใช้ภาษาได้ถูกต้องเหมาะสมกับบุคคลและสถานการณ์อย่างสร้างสรรค์
๕. สามารถเขียนเรื่องราวตามจินตนาการได้
๖. สามารถเลือกอ่านเรื่องสั้นที่เหมาะสมกับวัยและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านได้อย่างเหมาะสม
สาระการเรียนรู้
๑. การอ่านสรุปใจความสำคัญ
๒. การเขียนย่อความ
๓. การพูดแสดงความคิดเห็น
๔. ระดับของภาษา ลักษณะของภาษาพูดและภาษาเขียน
๕. การเขียนเรื่องสั้นตามจินตนาการ
๖. การอ่านเรื่องสั้น

คำชี้แจง ให้นักเรียนอ่านเรื่อง นักสืบทองอิน แล้วทำกิจกรรมต่อไปนี้
๑. ตอบคำถามต่อไปนี้
๑.๑ บุคคลที่กล่าวในเรื่องมีใครบ้าง
๑.๒ บุคคลในเรื่องร่วมกันทำกิจกรรมอะไร
๑.๓ เพราะเหตุใดเมฆจึงนำนิทานทองอินมาอ่านให้เพื่อนฟัง
๑.๔ เกิดเหตุการณ์ใดที่บ้านพันโชติ
๑.๕ ทองอินมีวิธีการจับปีศาจอย่างไร
๑.๖ ทองอินทำอย่างไรกับปีศาจที่จับได้
๒. นำคำตอบทั้งหมดมาจัดลำดับให้ตรงกับเรื่องที่อ่าน
๓. เรียบเรียงและเขียนใหม่ด้วยคำพูดของนักเรียนเองอย่างกระชับแต่ได้ใจความครบถ้วน
๔. ผู้แต่งเรื่องนิทานทองอินต้องการบอกอะไรแก่ผู้อ่าน

ชมรมคนรักวรรณคดี

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ เรื่อง ชมรมคนรักวรรณคดี
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
๑. สามารถสรุปใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านได้
๒. สามารถบอกเขียนจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ถึงเพื่อนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
๓. สามารถอ่านออกเสียงร้อยแก้วได้อย่างถูกต้อง
๔. สามารถอธิบายหลักการใช้ภาษาในการเขียนประกาศเชิญชวนได้
๕. สามารถเขียนประกาศเชิญชวนได้ด้วยภาษาที่สุภาพ
๖. สามารถเลือกอ่านหนังสือและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ตรงตามจุดประสงค์และหมาะสมกับวัย
สาระการเรียนรู้
๑. การอ่านสรุปใจความสำคัญ
๒. การเขียนจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ถึงผมแกละ
๓. การอ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว
๔. การเขียนประกาศแบบต่าง ๆ
๕. การเลือกอ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์จากโลกวรรณคดีดอตคอม

แบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย เรื่อง ชมรมคนรักวรรณคดี
คำชี้แจง ให้นักเรียนฝึกอ่านในใจเนื้อเรื่อง “ ชมรมคนรักวรรณคดี ” ในหนังสือเรียนชุดทักษะภาษา วรรณคดีลำนำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ แล้วฝึกตอบคำถามง่าย ๆ ดังต่อไปนี้
๑. ชาลีติดต่อกับผมแกละด้วยวิธีใด
๒.ใครเป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งชมรมคนรักวรรณคดี
๓. สมาชิกกลุ่มแรกของชมรมคนรักวรรณคดีมีกี่คน ใครบ้าง
๔.ครูจันทร์ฉายมีหน้าที่อะไรในชมรม
๕.กิจกรรมแรกของชมรมคนรักวรรณคดีคืออะไร มีลักษณะเป็นอย่างไร
๖.การตั้งชมรมคนรักวรรณคดีมีประโยชน์อะไรบ้าง

Tuesday, October 14, 2008

บทกวีนิพนธ์ในสระนำ้ใส โดย โชคชัย บัณฑิต

ในสระน้ำใส
ลูกครอกออกว่ายกายสีสด
แดงจรดหัวท้ายว่ายเป็น
มีแม่ปลาช่อนว่ายต้อนคุ้ม
เกลื่อนกลุ้มหากินสินในน้ำ
กิ๊วก๊าวกิ๊บก๊าบเป็ดทาบปีก
ตีนพุ้ยลัดหลีกปีกรุ่มร่าม
เหล่าลูกเป็ดน้อยเล่นลอยตาม
ไซ้แหนแผ่งามตามแม่มา
พลิกพลิ้วริ้วครีบใต้กลีบก้าน
แย้มยั่วบัวบานว่ายผ่านหน้า
ฝูงเป็ดตัวน้อยแม่ลอยพา
ว่ายหาอาหารหลีกก้านบัว
ปลาแม่แผ่คุ้มไล่กลุ่มลูก
กลับถูกลูกเป็ดที่เล็ดรั่ว
กลุ้มกินสิ้นใจไปหลายตัว
แตกหายว่ายมั่วมุดบัวพลัน
เย็นยอนใยแดดคลายแปดเปื้อน
สะเทือนวงน้ำทำเสียงลั่น
ก่อนไล่ฝูงเป็ดไปบ้านนั้น
ฝูงเด็กร่วมกันโดดลั่นน้ำ
(โชคชัย บัณฑิต ผู้ประพันธ์)
กิจกรรม
ให้นักเรียนแต่งกลอนสุภาพโดยสร้างเรื่องขึ้นจากสิ่งรอบตัวที่ได้พบเห็นในชีวิตประจำวัน เช่น ในโรงเรียนอนุบาล ในหมู่บ้านที่นักเรียนอยู่ ในรถโดยสารประจำทาง หรือหัวข้ออื่น ๆ ที่นักเรียนสนใจ โดยให้มีการจบแบบหักมุมทำนองเดียวกับเรื่องในสระน้ำใส

อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

ตั้งแต่วิหยาสะกำได้ชมรูปภาพของนางบุษบาก็หลงรักนาง และอยากได้นางมาเป็นมเหสี ท้าวกะหมังกุ หนิงก็ตามใจลูกส่งทูตไปขอนางบุษบากับท้าวดาหา และเตรียมกองทัพไว้ถ้าท้าวดาหาปฏิเสธก็จะยกทัพไปตีเมืองดาหา ท้าวกะหมังกุหนิงได้เล่าเรื่องราวและขอความช่วยเหลือจากน้องชาย คือ ระตูปาหยัง และท้าวประหมัน ซึ่งระตูทั้งสองก็ทูลทัดทาน ขอให้ตรึกตรองดูให้ดี เพราะท้าวดาหาเป็นวงศ์อสัญแดหวา ซึ่งมีกำลังทหารมากมาย ทั้งไพร่พลก็ชำนาญในการสงคราม ท้าวกะหมังกุหนิงก็บ่ายเบี่ยงเลี่ยงตอบว่าการทำสงครามครั้งนี้เป็นการช่วงชิงนางบุษบาจากจรกา แม้พระอนุชาจะอ้างเหตุผลอย่างไรก็ตาม ท้าวกะหมังกุหนิงก็ยืนยันความตั้งใจเดิม ไม่เปลี่ยนใจจะทำเพื่อลูก ฝ่ายท้าวดาหาเมื่อปฏิเสธไม่ยอมยกนางบุษบาให้แล้ว ก็มีหนังสือไปขอความช่วยเหลือไปหาท้าวกุเรปัน พระเชษฐา ท้าวกาหลังและท้าวสิงหัดส่าหรี พระอนุชาทั้งสอง ท้าวสิงหัดส่าหรีเมื่อทราบข่าวก็ส่งทหารไปบอกท้าวดาหาว่าไม่ต้องวิตก จะส่งสุหรานากงไปช่วย ฝ่ายเมืองกุเรปันท้าวกุเรปันได้มีหนังสือ 2 ฉบับ ให้ดะหมังนำไปให้อิเหนา 1ฉบับ และให้ระตูหมันหยา 1 ฉบับ แล้วให้กะหรัดตะปาตี ยกทัพไปสมทบกับอิเหนา ช่วยท้าวดาหาทำศึก กะหรัดตะปาตีก็ยกทัพไปคอยอิเหนาที่ชายเมืองหมันหยา ส่วนท้าวกาหลังก็ให้ตำมะหงงกับดะหมังคุมพลยกออกจากเมืองกาหลังมาพบสุหรานากงจากเมืองสิงหัดส่าหรี สองทัพก็สมทบกันยกไปเมืองดาหา เมื่อท้าวดาหาปฏิเสธไม่ยอมยกนางบุษบาให้ ท้าวกะหมังกุหนิงก็เตรียมจัดทัพยกไปตีเมืองดาหา ให้วิหยาสะกำเป็นกองหน้า พระอนุชาทั้งสองเป็นกองหลัง ท้าวกะหมังกุหนิงเป็นจอมทัพ ท้าวกะหมังกุหนิงได้ให้โหรตรวจดูดวงชะตาว่าร้ายดีประการใด โหรทำนายว่าดวงชะตาของท้าวกะหมังกุหนิงและวิหยาสะกำนั้นถึงฆาต ถ้ายกทัพไปในวันพรุ่งนี้จะพ่ายแพ้แก่ศัตรูแน่นอน ให้เว้นไปซัก 7 วัน แล้วจึงจะพ้นเคราะห์ไปทำศึกได้ แต่ท้าวกะหมังกุหนิงก็มิได้เปลี่ยนความตั้งใจ ยกทัพไปตามกำหนดที่ตั้งใจไว้ เมื่อท้าวดาหาทราบข่าวศึกก็ให้ตั้งค่ายรอบกรุงดาหาไว้ ทัพเมืองกะหมังกุหนิงก็ได้ยกทัพมาประชิดเมืองดาหา ท้าวดาหาเมื่อเห็นศึกมาประชิดเช่นนั้นก็รู้สึกน้อยใจอิเหนาว่าศึกครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะอิเหนาเป็นต้นเหตุ สุหรานากงและเสนาเมืองกาหลังเมื่อมาถึงก็เข้าเฝ้าท้าวดาหา สุหรานากงแจ้งให้ท้าวดาหาทราบว่า ท้าวกุเรปันส่งกะหรัดตะปาตีให้สมทบกับทัพอิเหนามาช่วย ท้าวดาหาก็เชื่อว่ากะหรัดตะปาตีนั้นคงมา แต่ไม่เชื่อว่าอิเหนาจะจากหมันหยามาได้ ท้าวดาหาเสนอแนะการทำศึกแก่สุหรานากงว่าไม่ควรออกไปสู้รบนอกเมือง เพราะกองทัพศัตรูกล้ายกมาครั้งนี้ก็ย่อมมีความสามารถมีกำลัง ควรตั้งมั่นไว้ในเมืองก่อน ถ้าทัพต่างๆยกมาช่วยแล้วค่อยตีกระหนาบ ศึกก็จะล่าเลิกไป อิเหนาเมื่อได้รับหนังสือจากท้าวกุเรปันให้ยกทัพไปช่วยท้าวดาหา ถ้าไม่ยกไปช่วยก็ขาดจากความเป็นพ่อลูกกัน อิเหนาอ่านจบแล้วก็นึกว่า นางบุษบาจะงามแค่ไหน ใครต่อใครจึงมาหลงรัก ถ้างามเหมือนจินตะหราก็สมควรที่จะหลง อิเหนาได้เข้าเฝ้าท้าวหมันหยา ซึ่งก็ได้รับหนังสือจากท้าวกุเรปันมีใจความตำหนิพระธิดาและท้าวหมันหยา อิเหนาจึงมาลาจินตะหรา สการะวาตี และมาหยารัศมี ทั้งที่ใจไม่อยากจากไป อิเหนาสัญญากับจินตะหราว่าเสร็จศึกจะรีบกลีบมาทันที อิเหนายกทัพจากเมืองหมันหยาไปด้วยความโศกเศร้า อิเหนายกทัพสมทบกับกะหรัดตะปาตีที่คอยท่าอยู่แล้วพากันยกไปเมืองดาหา ฝ่ายท้าวกะหมังกุหนิงแม้รู้ข่าวว่ามีทัพยกมาช่วยท้าวดาหาแต่ก็ยังไม่เปลี่ยนใจได้เตรียมทำศึกเต็มที่ เมื่อทัพกะหมังกุหนิงประจันทัพกับทัพของอิเหนา ท้าวกะหมังกุหนิงไม่รู้ว่าเป็นทัพของอิเหนาจึงถามว่าผู้ใดคือจรกา อิเหนาจึงตอบว่าจรกามิได้มาด้วย เรายกมาแต่กุเรปันเพื่อมาช่วยน้อง ในที่สุดสังคามาระตะก็ออกต่อสู้กับวิหยาสะกำ และได้ฆ่าวิหยาสะกำตาย ท้าวกะหมังกุหนิงจึงเข้าต่อสู้กับสังคามาระตะ อิเหนาเข้ารับไว้และฆ่าท้าวกะหมังกุหนิงสำเร็จ

Sunday, June 22, 2008

รามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก

บทละครเรื่อง รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก

บทพากย์โขนเรื่องรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยลักษณะคำประพันธ์เป็นกลอนบทละคร เป็นบทที่แต่งเพื่อใช้ในการเล่นละครในและใช้เป็นบทปลุกใจประชาชนให้กล้าหาญ สอนศีลธรรมแก่ประชาชน ตอน
นารายณ์ปราบนนทกเป็นเรื่องสั้นๆที่แทรกอยู่ตอนต้นของเรื่องรามเกียรติ์ กล่าวถึงนนทเป็นยักษ์นั่งประจำอยู่ที่เชิงเขาไกรลาส มีหน้าที่ล้างเท้าให้เหล่าเทวดา เทวดาเมื่อล้างเท้าแล้วก็เหย้าแหย่ ถอนผมนนทกเล่นจนผมโกร๋นโล้นถึงหู นนทกแค้นใจ แต่ก็ไม่มีทางตอบโต้เพราะไม่มีอำนาจ จึงไปเฝ้าพระอิศวรเพื่อขอรางวัลในการทำงานของตนพระอิศวรจึงประทานพรให้นนทกมีนิ้วเพชรตามที่ทูลขอ นนทกใช้นิ้วเพชรชี้สังหารผู้ที่มารังแกตนได้ นนทกมีจิตใจกำเริบสังหารเทวดามากมายร้อนถึงพระอิศวรต้องเข้ามาแก้ไข โดยให้พระนารายณ์มาช่วยปราบนนทก
พระนารายณ์แปลงร่างเป็นนางรำไปรำยั่วนนทกให้รำตามด้วยท่าต่างๆเมื่อถึงท่าชี้นิ้วลงที่ต้นขานนทกก็ขาหักเพราะฤทธิ์ของนิ้วเพชร นางรำกลับร่างเป็นพระนารายณ์แล้วเหยียบนนทกไว้เพื่อสังหารนนทกจึงต่อว่าพระนารายณ์ว่า มีถึงสี่มือก็ยังไม่กล้าสู้กับนนทกต้องใช้อุบาย พระนารายณ์จึงให้นนทกไปเกิดใหม่มีสิบหน้า ยี่สิบมือ และมีอาวุธพร้อมสรรพส่วนพระองค์จะไปเกิดเป็นมนุษย์สองมือจะได้สู้กันให้ได้ชัยชนะอีกครั้งนนทกเกิดมาเป็นทศกัณฐ์ ส่วนพระนารายณ์อวตารลงมาเป็นพระรามและได้ทำศึกสงครามกันยาวนาน